มะเร็งตับ

มะเร็งตับ โรคร้ายอันดับ 1 ของชายไทย

มะเร็งตับ เป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชายไทย ตามสถิติแล้วผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับสูงกว่ามะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยผู้ป่วยมะเร็งตับมักเสียชีวิตอย่างรวดเร็วภายหลังการวินิจฉัย เนื่องจากโรคมะเร็งตับระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ ซึ่งผู้ป่วยกว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักจะอยู่ในระยะท้ายของโรคซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้แล้ว

การรู้จักโรคมะเร็งตับจึงจะช่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ การรู้จักโรคของตัวเองก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นด้วยครับ

การรักษาโรคมะเร็งตับให้หายขาดยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะแม้แต่ผู้ป่วยมะเร็งตับที่รักษาด้วยการผ่าตัดก้อนมะเร็งตับออกได้หมด ยังมีความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นโรคมะเร็งตับได้สูงถึง 50%

มะเร็งตับ โรคร้ายอันดับ 1 ของชายไทย

.

ชนิดของมะเร็งตับ

.

แบ่งมะเร็งตับออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ 3 ชนิด คือ

1. มะเร็งตับที่เกิดจากเซลล์มะเร็งตับ เรียกว่า มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) พบมากที่สุดมากกว่าร้อยละ 80 ของมะเร็งตับทั้งหมด

2. มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (Intrahepatic Bile Duct Cancer) พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เกิดจากพยาธิใบไม้ในตับ คนที่รับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบที่มีพยาธิใบไม้ในตับ จะติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด

3.มะเร็งตับชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งน้ำเหลือง (Lymphoma) ที่เกิดในตับ มะเร็งเส้นเลือดของตับ (Angiosarcoma) หรือมะเร็งที่แพร่กระจายจากอวัยวะอื่นๆ เข้าตับ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่แพร่กระจายเข้าตับเป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ

1. ไวรัสตับอักเสบชนิดบี

พบถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งตับในประเทศไทย ติดต่อได้ 3 ทางคือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ถ่ายทอดทางเลือด เช่น ได้รับเลือดจากผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ติดต่อจากแม่ไปลูก แม่ที่ตั้งครรภ์และเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี อาจถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ การศึกษาในประเทศไต้หวันพบว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 200 เท่าทีเดียว

2. ไวรัสตับอักเสบชนิดซี พบว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งตับที่พบบ่อยในยุโรป ในประเทศไทยพบน้อยมีการติดต่อคล้ายกับไวรัสตับอักเสบชนิดบี แต่พบว่าติดต่อทางการให้เลือดมากกว่า

3.สารอะฟลาท๊อกซิน เป็นสารที่สร้างจากเชื้อราบางชนิด เช่น เชื้อรา แอสเปอจีรัสฟลาวุส (aspergillus flavus) ที่ปนเปื้อนในอาหารที่เก็บไม่ถูกต้อง เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด และยังพบได้ในข้าวกล้องหรือแม้แต่พริกแห้งอีกด้วย จัดเป็นสารก่อมะเร็ง โดยจะจับกับดีเอนเอของเซลล์ตับทำให้เกิดการกลายพันธุ์จนเกิดโรคมะเร็งตับในที่สุด ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีอยู่แล้ว ไวรัสจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของตับ เป็นระยะตั้งต้นของขบวนการเกิดโรคมะเร็ง ส่วนสารอะฟลาท๊อกซินเป็นปัจจัยเสริมทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับสูงขึ้น

4. แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ จะทำให้ตับเสื่อมเร็วขึ้นเกิดอาการตับแข็งได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

5. ตับแข็ง โรคนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ หลายประการ ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะตับแข็งโดยไม่ทราบสาเหตุ การเกิดภาวะตับแข็งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งตับ

.

สัญญาณเตือนภัยของมะเร็งตับ

การเป็นมะเร็งที่เนื้อตับมักไม่มีความเจ็บปวด กว่าผู้ป่วยมะเร็งจะเกิดอาการเจ็บปวดมะเร็งต้องลุกลามมากถึงผิวที่หุ้มตับแล้วเท่านั้น หรือก้อนต้องมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเกิดอาการไม่สบายที่ตรวจพบได้ ผู้ป่วยจึงมาพบแพทย์ และสุดท้ายมักพบว่าโรคเป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ดี

อาการของโรคมะเร็งตับมีหลายแบบโดยอาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. อาการเฉพาะที่ เป็นอาการที่เกิดจากก้อนมะเร็งตับมีขนาดใหญ่เบียดเนื้อเยื่อปกติหรืออวัยวะใกล้เคียง คลำได้เป็นก้อนที่ช่องท้องส่วนบนขวาของร่างกาย เกิดอาการจุกแน่นบริเวณท้องด้านขวาบน ไม่สบายท้อง ท้องอืดแน่น หรือปวดท้อง ถ้ามะเร็งลุกลามไปถึงเยื่อบุตับ หากมะเร็งทำลายเนื้อตับมากกว่าร้อยละ 70 จะเกิดอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต มีน้ำในช่องท้อง เส้นเลือดขอดบริเวณหน้าท้อง

2. อาการจากการลุกลามแพร่กระจายโรค มะเร็งตับอาจแพร่กระจายไปที่ปอดทำให้เกิดเกิดอาการหอบเหนื่อย หรือลุกลามเข้ากระดูกเกิดอาการปวดกระดูก แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักเสียชีวิตไปก่อนที่โรคแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย

3. อาการจากพิษของมะเร็ง มะเร็งตับอาจปล่อยสารพิษออกมามากทำให้เกิดอาการต่าง ๆ หลายประการ ได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง เป็นต้น

.

ภาวะที่พบร่วมกับมะเร็งตับ

เนื่องจากมะเร็งตับส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี จึงพบอาการและผลข้างเคียงจากภาวะตับเสื่อมหรือตับแข็งร่วมด้วย ได้แก่ เส้นเลือดขอดในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารโป่งพอง อาเจียนเป็นเลือด ม้ามโต ท้องมาน คือ การมีน้ำในช่องท้องจากภาวะตับแข็ง เส้นเลือดขอดที่หน้าท้องซึ่งเป็นผลมาจากความดันของเส้นเลือดในตับสูงมากจากภาวะตับแข็ง บางครั้งที่ม้ามโตอาจทำลายเม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ โลหิตจาง นอกจากนั้นการที่ตับเสื่อม ซึ่งเป็นผลจากปัจจัย 3 ประการ คือ มะเร็งตับ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และภาวะตับแข็ง อาจทำให้ระบบแข็งตัวของเลือดในร่างกายเสียไป เพราะตับทำหน้าที่สร้างปัจจัยแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกง่าย ฮอร์โมนเพศหญิงอาจเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งตับจากภาวะตับเสื่อมหรือตับแข็ง ทำให้ผู้ป่วยชายที่เป็นมะเร็งตับอาจมีเต้านมโตขึ้นคล้ายนมผู้หญิง (gynecomastia)

.

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับจากการมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือมีอาการแสดงของโรค จำเป็นต้องมีการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งตับซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. การซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์

2. การเจาะเลือดตรวจระดับดัชนีมะเร็งตับที่เรียกว่า อัลฟ่าฟีโตโปรตีน (AFP : alpha-fetoprotein) ถ้ามีระดับในเลือดสูงอาจเป็นโรคมะเร็งตับได้ การตรวจไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ โดยตรวจได้ทั้งแอนติเจนและแอนติบอดี้ของไวรัส และการตรวจดีเอนเอหรืออาร์เอ็นเอของตัวเชื้อไวรัสเอง การตรวจเลือดดูการทำงานของตับและเม็ดเลือด

3. การตรวจทางรังสีวินิจฉัย การตรวจด้วยวิธีเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็กซเรย์สนามแม่เหล็กที่เรียกว่าเอ็มอาร์ไอ (MRI : Magnetic Resonance Imaging) ให้ผลการตรวจที่แม่นยำและจำเพาะดีกว่าการตรวจด้วยอัลตราซาวด์

4. การเจาะตับตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอนแต่อาจมีผลข้างเคียงของการตกเลือด หรือการติดเชื้อ ภายหลังการเจาะได้

5. การส่องกล้องตรวจ นิยมใช้ตรวจแผลหรือเส้นเลือดในกระเพาะ ซึ่งเป็นผลแทรกซ้อนจากภาวะตับแข็ง หรือส่องกล้องตรวจท่อน้ำดี ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี

.

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ

ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ เช่น เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี ตับแข็ง ควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับด้วยการเจาะเลือดตรวจระดับค่าอัลฟ่าฟีโตโปรตีน และตรวจอัลตราซาวด์ตับทุก 6 เดือน ตลอดชีวิต เพื่อตรวจค้นหาโรคมะเร็งตับระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

.

ระยะของโรคมะเร็งตับ

ภายหลังการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ สิ่งสำคัญเป็นอันดับต่อมา คือ การดูระยะของโรค เพื่อที่แพทย์จะได้วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ตามแต่ระยะของโรค ระยะของโรคสามารถดูได้จากขนาดของเนื้องอก และการกระจายของเนื้องอกไปตามเส้นเลือด หรือระบบน้ำเหลือง

– ระยะที่ 1 (Tumor Stage 1 ) คือเนื้องอกมีเพียงก้อนเดียว และมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ไม่มีการลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด

– ระยะที่ 2 (Tumor Stage 2) คือเนื้องอกมีเพียงก้อนเดียว มีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร แต่มีการลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด หรือมีเนื้องอกหลายก้อน แต่ละก้อนมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ซึ่งอยู่เฉพาะตับซ้ายหรือตับขวา อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น หรือเนื้องอกมีเพียงก้อนเดียว แต่มีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่มีการลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด

– ระยะที่ 3 (Tumor Stage 3) คือเนื้องอกมีเพียงก้อนเดียว มีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร และมีการลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด

– ระยะที่ 4A (Tumor Stage 4A) คือ มีเนื้องอกหลายก้อนอยู่ทั้ง 2 ข้างของตับ หรือมีการกระจายเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่

– ระยะที่ 4B (Tumor Stage 4B) คือเนื้องอกกระจายไปสู่อวัยวะอื่นแล้ว

.

การรักษาโรคมะเร็งตับ

การรักษาโรคมะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น และหน้าที่ของตับในขณะนั้น ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. การผ่าตัดก้อนมะเร็งออก ทำได้ในกรณีที่มะเร็งตับมีขนาดเล็กผ่าตัดออกได้หมด โรคยังไม่แพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่นของร่างกาย ถือว่าเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดเพราะสามารถหายขาดได้ แต่ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นซ้ำหลังการผ่าตัดซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 50

2. การผ่าตัดเปลี่ยนตับ ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก ไม่แพร่กระจายออกไปนอกตับ แต่มีภาวะตับแข็ง ตับเสื่อมมาก อาจพิจารณาผ่า

ตัดเปลี่ยนตับ แต่ผลการรักษายังไม่ดีเท่าที่ควร และหาผู้บริจาคตับได้ลำบาก บางครั้งต้องรอตับที่บริจาคนานมาก จนกว่าจะทำการผ่าตัดโรคก็กำเริบไปแล้ว

3. การจี้ด้วยคลื่นความถี่สูง (Radiofrequency ablation) การจี้ก้อนมะเร็งตับด้วยคลื่นความถี่สูง จะเกิดพลังความร้อนทำลายก้อนมะเร็งตับที่ขนาดเล็กได้

4. การฉีดแอลกอฮอล์เข้าก้อนมะเร็งตับ ในกรณีที่ก้อนมะเร็งตับมีขนาดเล็ก เช่น ไม่เกิน 3 เซนติเมตรก้อนเดียว อาจใช้เข็มฉีดยาฉีดแอลกอฮอล์ผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ก้อนมะเร็งโดยตรง

5. การฉีดยาเคมีบำบัดและสารอุดเส้นเลือดตับที่เลี้ยงก้อนมะเร็งตับ (transarterial chemoembolization) อาศัยหลักการที่ก้อนมะเร็งตับเลี้ยงด้วยสารเส้นเลือดแดงของตับ (hepatic artery) ส่วนตับปกติเลี้ยงด้วยเส้นเลือดดำของตับ (hepatic vein) ดังนั้นการฉีดยาเคมีบำบัดและสารไปอุดเส้นเลือดแดงของตับโดยตรง จะทำลายก้อนมะเร็งตับโดยมีผลน้อยต่อตับปกติ วิธีนี้นิยมใช้รักษามะเร็งเฉพาะที่ ในกรณีที่ผ่าตัดก้อนมะเร็งตับไม่ได้

6. การฉายแสงที่ก้อนมะเร็ง เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ลดอาการเจ็บปวดจากก้อนมะเร็งตับ โดยการฉายแสงรังสีที่ตับโดยตรง แต่มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งตับด้วยรังสีรักษาระดับสูงไปที่ก้อนมะเร็งตับโดยตรง อาจใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด

7. การรักษาโรคมะเร็งตับด้วยยา ข้อบ่งชี้ของการรักษาโรคมะเร็งตับด้วยยา คือ มะเร็งตับระยะแพร่กระจาย หรือมะเร็งตับที่โรคเป็นมาก ผ่าตัดไม่ได้ เป็นการรักษาเพื่อลดอาการและยืดชีวิตของผู้ป่วย จากการศึกษากว่า 30 ปี พบว่ายาเคมีไม่สามารถยืดชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับได้ แต่เมื่อไม่นานมากนี้พบว่า ยารักษาตามเป้าหมาย (targeted therapy) ออกฤทธิ์ยับยับเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งและยับยั้งยีนมะเร็งชื่อราฟ (Raf oncogene) สามารถลดการลุกลามของโรค และยืดชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับได้ ใช้ได้สะดวก เพราะเป็นยาเม็ดรับประทาน มีผลข้างเคียงที่พบได้ เช่น ท้องร่วง มือเท้า เจ็บ ลอก (hand foot syndrome)

ถึงแม้เราจะทราบกลไกและสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ แต่การรักษาโรคมะเร็งตับยังไม่มีการรักษาที่ได้ผลดีเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ดังนั้น การป้องกันและการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีตั้งแต่เกิด การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับ และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง จึงมีความสำคัญในการลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งตับในคนไทย และเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ควรได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อหวังผลหายขาดหรือยืดชีวิตของผู้ป่วยและเพิ่มคุณภาพชีวิต รวมทั้งการป้องกันผลแทรกซ้อนของภาวะที่พบร่วมกัน จึงจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

แต่จะดีกว่าไมถ้ามีตัวช่วยที่สามารถป้องกันมะเร็งตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย ด้วยการรับประทานอาหารเสริมสมุนไพร CA ซึ่งสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายสิบชนิดที่จะช่วยกระตุ้นการทำงาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน (เซลล์เม็ดเลือดขาว) และสามารถขจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือแม้แต่เซลล์มะเร็ง ทั้งยังช่วยดูแลร่างกายองค์รวมให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้คุณมีชีวิตอยู่กับคนที่รักได้อย่างยาวนานและมีความสุข CA อาหารเสริมสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง เพราะเราเชื่อว่า “มะเร็งมีทางออก”