5 ข้อ ที่เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับมะเร็ง

  1. มะเร็งเป็นโรคของคนแก่
    เซลล์มะเร็งจะเติบโตเร็วหรือช้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ ผู้สูงอายุสามารถตรวจมะเร็งโดยการตรวจทางการแพทย์ เช่น ทำแมมโมแกรมเต้านม ตรวจมะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งผิวหนังแต่มะเร็งบางชนิดที่พบในคนอายุน้อยจะมีความร้ายแรงมากกว่าคนอายุมาก  ได้แก่ มะเร็งเต้านมที่เกิดในคนอายุน้อยกว่า 35 ปี หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี หรือมะเร็งดำเนินโรคที่รุนแรงและรักษาได้ยากกว่า
  2. ผู้หญิงและผู้ชายมีความเสี่ยงเท่ากัน 
    จากสถิติพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิดมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า เช่น มะเร็งผิวหนัง เพราะผู้ชายไม่นิยมทาครีมกันแดด และนอกจากนี้ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน แต่พบเพียงร้อยละหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมเท่านั้น และกว่าที่ผู้ชายจะรู้ตัวก็จะรักษาให้มีโอกาสรอดได้ยาก และมะเร็งบางชนิดเป็นเฉพาะที่อวัยวะเพศเท่านั้น เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากของผู้ชาย หรือมะเร็งปากมดลูกที่เป็นเฉพาะผู้หญิง
  1. แอลกอฮอล์ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็ง 
    ความจริงก็คือ ยิ่งบริโภคแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงกับมะเร็งเท่านั้น เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะนำไปสู่โรคมะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งหลอดอาหาร โดยผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์จะเสี่ยงกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายไม่อาจขจัดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ดี ซึ่งจะทำให้เสี่ยงกับมะเร็งทั้งในผู้ชายหรือผู้หญิง การสูบบุหรี่นอกจากจะทำให้เสี่ยงกับมะเร็งปอดแล้ว ยังอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย
  2. คนที่ไม่ได้กินผลไม้ มีความเสี่ยงสูงกับโรคมะเร็ง 
    ทั้งผักละผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้ แต่ต้องเป็นผักและผลไม้ที่ปลอดจากสารพิษ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโรคแนะนำให้รับประทานอาหารผักและผลไม้สดที่ปลอดจากสารพิษปริมาณ 400 กรัมต่อวัน ซึ่งมังสวิรัติหรือนักกีฬามักดูแลสุขภาพตนเองด้วยการกินผักและผลไม้ คนที่ที่ใส่ใจกับสุขภาพและควบคุมน้ำหนักตัวก็จะลดความเสี่ยงกับโรคมะเร็ง ในขณะที่คนอ้วนมักมีความเสี่ยงสูงกับโรคมะเร็ง เพราะขาดความใส่ใจในเรื่องของการกิน
  3. ความเครียดและอาหารเป็นพิษทำให้เป็นมะเร็ง 
    การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการเกิดโรคมะเร็งในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมาได้ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน แต่ไม่พบว่าความเครียดเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งโดยตรง แต่จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ความเครียดมีผลกระทบประสาทและต่อมไร้ท่อ ซึ่งอาจมีผลทางอ้อมต่อการเกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้ ประมาณ 78% ของประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความเห็นว่า อากาศเป็นพิษทำให้เกิดโรคหอบหืดและโรคปอดเรื้อรัง และจากการศึกษาทำให้อัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่าอากาศเป็นพิษทำให้เกิดเป็นมะเร็งหรือไม่

ขอขอบคุณบทความจาก http://bit.ly/1WceCXj